.:: ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกของนางสาวปนัดดา วงศ์ทองดี นักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพครู รุ่นที่ 13 หมู่ 2 ::.

วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นำเสนอ : สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์






View more presentations from hall999.

ความรู้เรื่องแม่สี

วงจรสี (Colour Wheel)
วงจรสี คือ สีที่เกิดจากการผสมกันเป็นคู่ เริ่มตั้งแต่ แม่สี 3 สี แล้วเกิดเป็นสีใหม่ขึ้นมา จนครบวงจร จะได้สีทั้งหมด 12 สี ซึ่งแบ่งสีเป็น 3 ขั้นคือ
1.1 สีขั้นที่ 1 (Primary Colours) คือ แม่สี 3สี ได้แก่ สีแดง เหลือง และน้ำเงิน
1.2 สีขั้นที่ 2 (Secondary Colours) คือ สีที่เกิดจากการผสมกันเป็นคู่ๆ ระหว่างแม่สี 3 สี จะได้สีเพิ่มขึ้นอีก 3สี
1.3 สีขั้นที่ 3 (Tertiary Colours) คือ สีที่เกิดจากการผสมกันเป็นคู่ๆ ระหว่างแม่สี 3 สี กับสีขั้นที่ 2 จะได้สีเพิ่มขึ้นอีก 6สี
1.4 สีกลาง (Neutral Colour) คือ สีที่เกิดการผสมสีทุกสี ในวงจรสี หรือ แม่สี 3สี ผสมกัน จะได้สีเทาแก่ สีทั้ง 3ขั้น เมื่อนำมาจัดอยู่เป็นวงจรจะได้ลักษณะเป็นวงล้อสี

1.5 สีพิเศษ ได้แก่ สี ชมพู ฟ้า ม่วง





สีตรงข้าม (Comprementary Colour)
สีตรงข้าม หมายถึง สีที่อยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกันในวงจรสี และมีการตัดกันอย่างเด่นชัดซึ่งจะให้ความรู้สึกที่ขัดแย้งกัน หากนำมาผสมกันจะได้สีกลาง (เทา) ซึ่งมีทั้งหมด 6คู่ ได้แก่
- สีเหลือง ตรงข้ามกับ สีม่วง
- สีแดง ตรงข้ามกับ สีเขียว
- สีน้ำเงิน ตรงข้ามกับ สีส้ม
- สีเขียวเหลือง ตรงข้ามกับ สีม่วงแดง
- สีส้มแดง ตรงข้ามกับ สีเขียวน้ำเงิน
- สีม่วงน้ำเงิน ตรงข้ามกับ สีส้มเหลือง

สีข้างเคียง ( Analogous Colour)
สีข้างเคียง หมายถึง สีที่อยู่เคียงข้างกันทั้งซ้ายและขวาในวงจรสี มีความคล้ายคลึงกันหากนำมาจัดอยู่ด้วยกันจะมีความกลมกลืนกัน หากอยู่ห่างกันมากเท่าใดความกลมกลืนก็จะยิ่งน้อยลงความขัดแย้งก็จะมีมากขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นสี ในวรรณะเดียวกัน (ภาพที่ 6) สีข้างเคียงได้แก่
- สีแดง - ส้มแดง - ส้ม หรือ ม่วงแดง -แดง - ส้มแดง
- สีส้มเหลือง - เหลือง - เขียวเหลือง หรือ ส้มแดง - ส้ม - ส้มเหลือง
- สีเขียว - เขียวน้ำเงิน - น้ำเงิน หรือ เขียวน้ำเงิน - เขียว - เขียวเหลือง
- สีม่วงน้ำเงิน - ม่วง - ม่วงแดง หรือ ม่วงน้ำเงิน- น้ำเงิน - เขียวน้ำเงิน

เทคนิคการวาดภาพลายเส้น

การวาดลายเส้น: คือ ภาพวาดที่เป็นเส้นอาจมีความสมบูรณ์ในตนเองหรือแต่งเติมด้วยการลงแสงเงาให้เด่นชัดยิ่งขึ้นใน การวาดลายเส้นเราควรจะมารู้จักกับอุปกรณ์ในการวาดลายเส้นอุปกรณ์ที่ใช้ในการ เขียนลายเส้นที่เป็นพื้นฐานของการสร้างงานศิลปะที่เรียกว่า ทัศนศิลป์ หลายๆคนที่เคยสอบเอ็นทรานซ์คงรู้ดีว่าเป็นการวาดอย่างไร เราลองมารู้จักกับอุปกรณ์กันก่อนที่จะรู้จักหลักเทคนิคในการวาดต่อไป
อุปกรณ์ (Materials) เป็นอุปกรณ์ในการวาดทั่วไปที่ใช้ในทัศนศิลป์
    1. ดินสอดำ ในการวาดควรใช้เฉพาะขนาดตั้งแต่ 5B จนถึง EE เพราะมีความเข้มมาก ขนาดที่ต่ำกว่านี้ถ้าหากแรเงาจะเกิดความมันเลื่อม สะท้อนทำให้ภาพดูไม่ชัดเจน
    2. ปากกาหมึกซึม เป็นปากกาใช้จุ่มหรือมีหมึกในตัวก็ได้ จุดเด่นของการใช้ปากกาคือ จะทำให้ภาพดูมีชีวิตชีวา
    3. ปากกาหมึกแห้ง สะดวกในการใช้จะให้เส้นออกมามีความสนุกสนานอิสระ
    4. แท่งถ่าน เป็นแท่งถ่านที่ขายตามร้านเครื่องเขียนทั่วไป

อุปกรณ์ทั่วไป (Natural Meterials)
    1. กระดานรองเขียน
    2. ตัวหนีบ
    3. ยางลบ
    4. มีดเหลาดินสอ
    5. กระดาษทราย ถ้าจะให้สะดวกในการใช้ควรหาไม้สี่เหลี่ยมเล็กมารองแผ่นกระดาษทราย
    6. กระดาษปรู๊ฟ คือ กระดาษเนื้อบางลักษณะเหมือนกับกระดาษที่ใช้ม้วนยาสูบ
    7. กระดาษ 100 ปอนด์

เทคนิคการฝึกความแม้นยำในการวาดมีดังต่อไปนี้
   1. การขีดเส้นตรงในแนวนอนและแนวตั้งให้เส้นมีชองไฟเท่าๆกัน
   2. การขีดเส้นตรงให้ลงน้ำหนักมือและผ่อนลงไปจะได้เส้นที่มีลักษณะคล้ายดาวตก
   3. การขีดเส้นตาข่ายให้ช่องไฟเท่ากันในทุกทิศทาง
   4. การไล่น้ำหนักเงาจากอ่อนไปหาแก่และจากแก่ไปหาอ่อน
   5. การลากเส้นเป็นเลขแปดอย่างต่อเนื่อง

ผลงานการ์ตูน Comic






ลายเส้น & เล่นสี


ผลงานผลิตตัวอักษรหัวเรื่อง 3 แบบ



วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

[MV] รักไม่ต้องการเวลา - Klear

เรียนรู้เว็บบล็อก(webblog)



รายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์สุจิตตรา   จันทร์ลอย
ปีการศึกษา  2 / 2553
นางสาวปนัดดา  วงศ์ทองดี  นักศึกษา ป.บัณฑิตวิชาชีพครู
รุ่น
 13  หมู่  2 
คณะครุศาสตร์ 
ประวัติส่วนตัว
ชื่อเล่น  ปุ้ย
วันเกิด  วันที่  1 มี.ค. 2525
ภูมิลำเนา 78  หมู่ 4 ต.ยางหัก อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี
การศึกษา ปริญญาตรี  เอกการตลาด
ประสบการณ์ทำงาน    -
ตำแหน่งปัจจุบัน  พี่เลี้ยงเด็กโรงเรียนบ้านจอมบึง
เบอร์โทร 089-9142045
e-mail papa_045@hotmail.com